งานเผยแพร่ > FAQ
อาคาร 3 ชั้น 3 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 65 หมู่ 1 ถ.สุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์: 053-328496-8 3508,3509,3510
โทรสาร: 053-328494
อีเมล์ :[email protected]
เวลาราชการ:08:30 - 16:30 น.
สามารถติดตามข่าวสาร การประกาศรับสมัครงาน ทางเว็บไซต์หลัก ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และ เว็บไซต์ของหน่วยตรวจสอบภายใน
https://www.hrdi.or.th/Announcements/job
มาตรฐานการควบคุมภายในที่ภาคราชการนำมาใช้ปฏิบัติได้นำหลักการ COSO มาใช้ ซึ่งการจัดวางระบบควบคุมภายใน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน คือ
1) สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment) หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมภายใน
2) ปัจจัยเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง สิ่งที่มีโอกาสจะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ซึ่งไม่พึ่งประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด
3) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) หมายถึง นโยบายหรือวิธีการต่างๆ ที่กำหนดให้ปฏิบัติเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง
4) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด
5) การติดตามและประเมินผล (Monitoring) หมายถึง กระบวนการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานและประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในที่วางไว้
ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน โดยมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมเป็นรากฐานที่จะทำให้องค์ประกอบอื่นๆ ดำรงอยู่อย่างมั่นคง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการควบคุมภายในเป็นพื้นฐานสำคัญทำให้มีการปฏิบัติตามองค์ประกอบอื่นๆ
การควบคุมภายในเป็นการจัดวางระบบให้มีความเหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และความซับซ้อนของแต่ละส่วนงานในความรับผิดชอบโดยเน้นวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ส่วนการตรวจสอบภายในคือหน่วยงานที่ได้รับหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยรับตรวจเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในระบบควบคุมภายใน จึงเห็นได้ว่าเมื่อมีระบบการควบคุมภายในจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบภายในเพื่อเป็นการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารแต่ละส่วนงานกำหนดไว้ในระบบควบคุมภายใน หรือเรียกได้ว่าการตรวจสอบภายในถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมภายในที่ต้องมีควบคู่กันไปเพื่อความสำเร็จของหน่วยงาน
การประเมินความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีทั้งที่เกิดขึ้นจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงระบบบัญชีและระบบการบริหารทรัพย์สินในภาคราชการ เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความสามารถและขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความซ้ำซ้อนของระบบงานและการปฏิบัติงาน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ของหน่วยงาน เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ความเสี่ยงนี้อยู่ระดับที่ยอมรับได้ จึงจำเป็นต้องมีการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจ เพื่อให้หน่วยงานบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด